วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ วันพ่อแห่งชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ ในทั่วโลก

ก่อนที่แนวคิดวันพ่อแห่งชาติ ของจอห์น บี. ดอดด์ จะถูกเผยแพร่ไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยวันพ่อแห่งชาติของแต่ละประเทศจะกำหนดวัน และจัดงานแตกต่างกันไป เช่น

          วันที่ 19 มีนาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศสเปน โปรตุเกส อิตาลี

          วันที่ 8 พฤษภาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศเกาหลีใต้

          วันที่ 5 มิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศเดนมาร์ก

          วันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่น อาร์เจนตินา ไอร์แลนด์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร

          วันที่ 23 มิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศโปแลนด์

          วันอาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศบราซิล

          วันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

          วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์

          วันที่ 5 ธันวาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศไทย

วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย
        สำหรับวันพ่อแห่งชาติของประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 และยังได้มีการกำหนดให้ดอกพุทธรักษา เป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

          ทั้งนี้ นอกจากวันที่ 5 ธันวาคม จะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" แล้ว ยังถือว่าวันนี้เป็น "วันชาติของไทย" อีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยมีการกำหนดวันชาติให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายน เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ 

          ซึ่ง "วันชาติ" ของไทยนั้นอยู่มานานถึง 21 ปี จนวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยเหตุที่เปลี่ยนเพราะมีข้อไม่เหมาะสมหลายประการ คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน 

          จึงควรถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย 
ดังนั้นนับแต่ปี 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันชาติ" ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา   

     ที่มา http://hilight.kapook.com/view/18055

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิศวกรคืออะไร

วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คือ

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย
ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอกซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

  ที่มา วิกิพีเดีย

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ฟุตบอลโลก ที่มา

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1942 และ 1946 ที่งดเว้นไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทีมชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือทีมชาติเยอรมนี ที่ชนะในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2014 และจะเข้ารักษาแชมป์ เข้าสู่รอบสุดท้าย ในการแข่งขันครั้งต่อไป ที่จะจัดขึ้นในประเทศรัสเซีย
รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบัน การแข่งขันประกอบด้วย 32 ทีม เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในสถานที่จัดงานของประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณ 1 เดือน การแข่งขัน 32 ทีมสุดท้ายนี้เรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนในรอบคัดเลือกที่แข่งขันก่อนหน้านั้น ในปัจจุบันจะต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี เพื่อตัดสินว่าทีมใดที่จะร่วมเข้าแข่งกับทีมประเทศเจ้าภาพ
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 19 ครั้ง มีชาติที่ชนะในการแข่งขัน 8 ชาติ ทีมชาติบราซิลชนะ 5 ครั้ง และเป็นทีมเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขันในทุกครั้ง ส่วนทีมชาติอื่นที่ชนะการแข่งขันคือ ทีมชาติอิตาลี และ ทีมชาติเยอรมนี ชนะ 4 ครั้ง, ทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติอุรุกวัย ชนะ 2 ครั้ง และ ทีมชาติอังกฤษ ทีมชาติฝรั่งเศส และทีมชาติสเปน ชนะ 1 ครั้ง
การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มีผู้ชมราว 715.1 ล้านคนในการแข่งขันนัดตัดสินการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี


ที่มา วิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประเภทภารกิจของหน่วยรบพิเศษ

สงครามนอกแบบเป็นการปฏิบัติที่หน่วยรบพิเศษ ต้องใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด การปฏิบัติที่เข้าไปในประเทศฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม แล้วสร้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ถ้าต้องการทำสงครามกลุ่มต่อต้านก็จะช่วยกำลังรบตามแบบในการทำการรบได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเย็น จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลไทย และมีแผนที่จะสนธิกำลังตามแบบ จากเวียดนามในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธการ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก สงครามนอกแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับสงครามตัวแทน
การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ เป็นการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยกลุ่มคนที่มีการวมตัว มีการจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของกลุ่ม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ทางการเมือง ล้มล้างรัฐบาล แบ่งแยกดินแดน จนถึงเข้าแทนที่รัฐบาล การก่อความไม่สงบนี้เป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลในการแก้ไข โดยหน่วยรบพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ โดยจะประกอบด้วยงาน การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติงานด้านการข่าว การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน การปราบปรามกำลังติดอาวุธ
โดยภาพรวมในการปฏิบัติการคือ ดำเนินการป้องกันด้วยการปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวเพื่อคอยติดตามว่า การก่อความไม่สงบจะเกิดขึ้นที่ไหน สาเหตุเงื่อนไขเป็นอะไร ซึ่งตัวเงื่อนไขก็จะสามารถลดลงด้วย การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน แต่ถ้ามีการผิดพลาดของการข่าว การพัฒนาการช่วยเหลือไม่สมดุล ข้าราชการสร้างเงื่อนไข ประกอบกับมีแกนนำหรือกลุ่มบุคคลชี้นำหรือปลุกระดม ก็จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะต้องใช้มาตรการการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรคือ การสร้างความปลอดภัยให้ประชนชนไม่ว่าจะเป็นจัดชุดคุ้มครอง ลาดตระเวนแสดงกำลัง การห้ามประชาชนออกจากบ้านยามค่ำคืน การตั้งจุดตรวจ พร้อมกับใช้การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา รวมทั้งทบทวนการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ในระหว่างนั้น ถ้าผู้ก่อความไม่สงบเริ่มใช้กำลังติดอาวุธ ก็ต้องใช้กำลัง เข้าปราบปราม
การปฏิบัติการจิตวิทยา เป็นการปฏิบัติเพื่อให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเป็นกลาง ให้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายเรา ไม่ว่าจะเป็นการยุยงด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว การกระจายเสียง ให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ทำให้เกิดการเดินขบวนของประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลตนเอง การสร้างความหวาดกลัวด้วยการใช้ใบปลิว ซึ่งอาจจะทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องทำการรบ ทั้งโดยการใช้เครื่องขยายเสียง วิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารมวลชนด้านอื่นๆ
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง  ภารกิจนี้เป็นการใช้กำลังในการเข้าทำลาย ยึดที่หมายที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติการอื่น เช่น การยึดสนามบิน การโจมตีที่เก็บเสบียงหรือที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นภารกิจที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก ตั้งแต่การสร้างหน่วยที่จะไปทำภารกิจนี้ ซึ่งจะทำเมื่อที่หมายดังกล่าวถ้าไม่ยึดหรือทำลายแล้ว ภารกิจจะไม่สำเร็จ
การลาดตระเวนพิเศษ เป็นการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจโดยหน่วยรบพิเศษโดยลำพังหรือ ผ่านทางกำลังกองโจร วัตถุประสงค์เพื่อการยืนยัน ปฏิเสธข่าวสาร สมมติฐานที่ได้มาก่อน ด้วยการตรวจการณ์ หรือวิธีการรวบรวมอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถ เจตนารมณ์ และการปฏิบัติ ของข้าศึกหรือที่มีแนวโน้มจะเป็นข้าศึก การปฏิบัติการลาดตระเวนพิเศษอาจจะเกิดขึ้นเพื่อความต้องการการลาดตระเวนทางนิวเคลียร์ ชีวเคมี หรือเพื่อหาข้อมูลด้านอุตุนิยม อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ในพื้นที่หนึ่ง

 ที่มาวิกิพีเดีย